บทที่ 2
ข้อมูลพื้นฐานโครงการ
โรงเรียนเรียนนานาชาติ เปรม ติณสูลานนท์
เป็นโรงเรียนหลักสูตรนานาชาติ โดยได้รับการอนุมัติให้ใช้หลักสูตร International Baccalaureate Diploma สำหรับเกรด 11 และ 12 และยังได้รับการยอมรับให้เป็นโรงเรียนระดับมาตรฐาน
IB World School โดย International Baccalaureate
Organization (IBO) ในนครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
โดยจะทำการศึกษาจากกรณีศึกษาที่เป็นโรงเรียนนานาชาติเหมือนกันทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อทำการศึกษาทางด้านข้อมูลพื้นฐาน โดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานโครงการจะมีรายละเอียดข้อมูลต่างๆ
ซึ่งทำการรวบรวมมาจาก การสัมภาษณ์และสอบถาม การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้โครงการ ข้อมูลทางด้านสภาพแวดล้อม
ข้อมูลทางด้านสถิติ กรณีศึกษาและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ แล้วจึงนำข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้นมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลพื้นฐานทางด้านต่างๆของโครงการ
ซึ่งประกอบดังนี้
2.1ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
(FUNCTION FACTS)
2.2ข้อมูลพื้นฐานด้านรูปแบบ
(FORM FACTS)
2.3ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐศาสตร์
(ECONOMIC FACTS)
2.4ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
(TECHNOLOGY FACTS)
2.1ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
(FUNCTION FACTS)
2.1ข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
จัดเป็นข้อมูลหลักของโครงการที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายระดับต่างๆของโครงการกับตัวโครงการ
รวมถึงกิจกรรมต่างๆ และตารางเวลาที่เกิดขึ้นภายในโครงการ โดยข้อมูลพื้นฐานด้านหน้าที่ใช้สอย
ประกอบไปด้วย
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ
(Users)
2.1.2 กิจกรรม (Activity)
2.1.3 ตารางเวลา (Time
Schedule)
2.1.1 ผู้ใช้โครงการ(Users)
1) โครงสร้างองค์กร(Authority Structure)


รูปภาพที่2.1
แสดงโครงสร้างองค์กร
2) ปริมาณผู้ใช้โครงการ(Number of User)
แยกประเภทกลุ่มผู้ใช้โครงการได้ 3 ประเภท ดังนี้
·
กลุ่มผู้ใช้หลัก
·
กลุ่มผู้ใช้รอง
·
กลุ่มผู้บริหาร
และพนักงาน
·
กลุ่มผู้ใช้โครงการหลัก
คือนักเรียนอนุบาลถึงมัธยมศึกษา จำนวน 440
คน
·
กลุ่มผู้ใช้โครงการรอง
คือผู้ปกครองหรือผู้มาติดต่อ ข้อกำหนดของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้นักเรียน 1 คนต้องมีผู้ปกครอง 1 คน ดังนั้นกลุ่มผู้ใช้โครงการรองจะมี 440 คน
·กลุ่มผู้บริหาร และพนักงาน คือกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโครงการในแง่ของการบริหารโครงการ
และบริการ ซึ่งมีทั้งหมด 118 คน
ลักษณะผู้ใช้โครงการ(USER CHARACTERISTICS)
แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ
1)
กลุ่มนักเรียน
2)
กลุ่มวิชาการ
3)
กลุ่มผู้บริหาร
4)
กลุ่มบริการ
โดยผู้ใช้โครงการแต่ละกลุ่มก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวในส่วนของกายภาพ
สังคม ความรู้สึกประสบการณ์ โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้โครงการทั้ง 4 กลุ่มสรุปออกมาตามลักษณะของผู้ใช้ได้เป็น
4 ด้านคือทางกายภาพ ทางจิตวิทยา และทางสังคม ได้ดังนี้
1)
ทางด้านกายภาพ(Physical)
ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านกายภาพ คือ ลักษณะทางร่างกาย
และอายุของกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการลักษณะทางกายภาพ จำแนกได้ดังนี้
1.1กลุ่มนักเรียน
·
ระดับอนุบาล1-มัธยมศึกษาปีที่6 ไม่จำกัดเพศ และเชื้อชาติ
·
อายุ 3-18 ปี
·
มีสุขภาพพลานามัยร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
·
มีการพัฒนาทางร่างกาย
ภาษาและสังคม
1.2กลุ่มวิชาการ
·
ชาวต่างชาติ
สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
·
มีอายุระหว่าง 25-60 ปี ไม่จำกัดเพศ
·
มีสุขภาพพลานามัยร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
·
วุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป
·
รักเด็ก
1.3กลุ่มบริหาร
·
สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
·
มีอายุระหว่าง 40-60 ปีไม่จำกัดเพศ
·
มีสุขภาพพลานามัยร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
·
วุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป
·
รักเด็ก
1.4กลุ่มบริการ
·
มีอายุระหว่าง 25-60 ปี ไม่จำกัดเพศ
·
มีสุขภาพพลานามัยร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
·
ไม่มีข้อบกพร่องทางกายภาพที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน
·
รักเด็ก
1.5กลุ่มผู้ปกครอง
·
ไม่จำกัดเพศ
2)
ทางด้านจิตวิทยา(Psychological)
ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านจิตวิทยา คือ
การรับรู้ทางด้านจิตวิทยาของแต่ละกลุ่มผู้ใช้โครงการที่ต่างกัน จำแนกได้ดังนี้
2.1กลุ่มนักเรียน
·
มีความสนุกสนาน
ร่าเริง ชอบการเล่น
·
มีความสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัว
2.2กลุ่มวิชาการ/กลุ่มบริหาร/กลุ่มบริการ
·
สามารถเก็บอารมณ์และความรู้สึกได้ดี
·
ต้องการความรู้สึกที่เรียบง่าย
มั่นคง
2.3กลุ่มผู้ปกครอง
·
สามารถเก็บอารมณ์และความรู้สึกได้ดี
3)
ทางด้านสังคม(Social)
ลักษณะผู้ใช้โครงการทางด้านสังคม คือ ลักษณะสังคมที่แตกต่างกันจะทำให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมการใช้สอยพื้นที่ต่างกัน
มีผลต่อความชอบในเรื่องรสนิยมความชอบ การที่ลักษณะของสังคมแตกต่างอาจเนื่องมาจาก ระดับการศึกษา
เชื้อชาติ ศาสนา อายุ และเพศ จำแนกได้ดังนี้
3.1กลุ่มนักเรียน
ลักษณะทางสังคมของกลุ่มเด็ก จะมีลักษณะสังคมที่ชอบเล่นสนุกสนานสดใสร่าเริง
3.2กลุ่มวิชาการ/กลุ่มบริหาร/กลุ่มพนักงาน
มีการปฎิสัมพันธ์กันระหว่างครูผู้ปกครองและพนักงาน
3.3กลุ่มผู้ปกครอง
มีการจับกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทัศนคติและปัญหา
2.1.2 กิจกรรม(Activities)
เป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ
ลักษณะของกิจกรรม และรูปแบบพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการ การตอบสนองของพฤติกรรมต่อกิจกรรมในโครงการ
รวมไปถึงช่วงเวลา และความถี่ของการทำกิจกรรมนั้นๆภายในโครงการ
ลักษณะกิจกรรมของผู้ใช้โครงการจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ใช้โครงการโดยสามารถแยก
ได้ดังนี้
1) ประเภทของกิจกรรม(Types of Activity)
2) รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้(User’s Behavioral Patterns)
2.1รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียน
2.2รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มบริหาร
2.3รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มวิชาการ
2.4รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มบริการ
2.5รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มผู้ปกครอง
3)
พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม(Behavior and Environment)
1)
ประเภทของกิจกรรม (Types of Activity)
ตารางที่2.1
แสดงการจำแนกประเภทของกิจกรรมที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้
ประเภทของกิจกรรม
|
ผู้ใช้
|
จำนวนผู้ใช้
|
ส่วน/ห้องทีเกิดกิจกรรม
|
ความถี่กิจกรรม
|
ลักษณะของกิจกรรม
|
การเรียนรู้ภายในห้องเรียน
|
นักเรียน,คุณครู
|
20
|
ห้องเรียน,ห้องเรียนภาษา,ห้องเรียนวิทยาศาสตร์,ห้องเรียนคณิตศาสตร์
|
จันทร์-ศุกร์
|
ผู้สอนนั่ง /ยืนหน้าห้องบรรยาย นักเรียนจะนั่งอยู่ทางด้านหน้าของ
ผู้สอน เพื่อจดเนื้อหา และแสดงความคิดเห็นต่างๆต่อเนื้อหาการเรียน
การสอน
|
การเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน
|
นักเรียน,คุณครู
|
ไม่จำกัด
|
Gym,สนามกีฬา,สระว่ายน้ำ
,ห้องเรียนศิลปะ,ห้องปฏิบัติการ
วิทยาศาสตร์,ห้องปฏิบัติการ
ดีไซน์และเทคโนโลยี,ห้องปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์,ห้องเรียนดนตรี,ห้องสมุด,Auditorium,Gallery
|
จันทร์-ศุกร์
|
นักเรียนออกไปทำการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน
ผ่านการปฎิบัติจริง
|
รับประทานอาหาร
|
นักเรียน,คุณครู,ผู้บริหาร
|
498 คน
|
โรงอาหาร
|
ทุกวัน
|
มีร้านอาหารให้นักเรียนเลือกในการรับประทานอาหาร
โดยใช้จ่ายผ่านบัตรนักเรียน
|
อยู่อาศัย
|
นักเรียน,คุณครู
|
280 คน
|
หอพักนักเรียน
|
ทุกวัน
|
พักอาศัย
|
2.รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้(User’s
Behavioral Patterns)
จากการศึกษาถึงรูปแบบพฤติกรรมของการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้ใช้สอยโครงการ
นั้นพบว่าลักษณะของรูปแบบพฤติกรรมจะเป็นไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกันในแต่ละกลุ่มของผู้ใช้โครงการ
ซึ่งสามารถจำแนกรูปแบบพฤติกรรมต่างๆตามลักษณะของกลุ่มผู้ใช้โครงการ ได้ดังนี้
2.1รูปแบบพฤติกรรมของนักเรียน
·
นักเรียนจะเดินทางจากที่พักไม่ว่าจะทางรถยนต์
เดินมาจากหอพักนักเรียน
·นักเรียนบางส่วนจะแยกไปรับประทานอาหาร กินขนมอาหารว่าง
เล่นกีฬา เล่นในสนามเด็กเล่น ค้นคว้าหาข้อมูลจากห้องสมุด ห้องดนตรี ห้องวิทยาศาสตร์
ห้องศิลปะ หรือดำเนินกิจกรรมอื่นๆ
·
เข้าแถวเคารพธงชาติ
·นักเรียนอนุบาลและประถมแยกย้ายเข้าห้องเรียน นักเรียนมัธยมจะเดินไปเรียนยังห้องต่างๆตามตารางสอนที่ได้กำหนดไว้
·
พักกลางวัน
รับประทานอาหารกลางวัน พักผ่อน ทำกิจกรรมที่สนใจ
·
นักเรียนแยกย้ายเข้าห้องเรียน
ตามตารางสอนที่ได้กำหนดไว้ในช่วงบ่าย
·เมื่อถึงเวลาเลิกเรียน นักเรียนสามารถอยู่ทำกิจกรรมชมรมที่สนใจหรือจะแยกย้ายกลับบ้านหรือหอพักนักเรียน
2.2รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มบริหาร
·เข้าถึงโรงเรียนด้วยรถยนต์ส่วนตัว
·ผ่านโถงส่วนบริหารเพื่อเข้าไปทำงาน
·เข้าส่วนบริหารโรงเรียนแต่ละฝ่าย ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
·รับประทานอาหารกลางวัน พักผ่อนตามอัธยาศัย
·แยกย้ายกันปฏิบัติหน้าที่อีกครั้ง บางกรณีอาจมีการประชุม
หรือสรุปผลการดำเนินงาน หรือให้คำปรึกษาผู้มาติดต่อ
·เดินทางกลับออกจากโรงเรียน โดยผ่านส่วนโถงส่วนบริหาร
2.3รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มวิชาการ
·
เข้าถึงโรงเรียนด้วยรถยนต์ส่วนตัว
หรือมาจากหอพักครู
·
ผ่านโถงสาธารณะ
พลาซ่า ซึ่งเป็นส่วนสาธารณะของส่วนการศึกษา
·
เตรียมการสอน
·
สอนหนังสือ
·
พักรับประทานอาหารกลางวัน
พักผ่อนตามอัธยาศัย
·
สอนหนังสือ
·
ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนผู้ปกครองที่มาขอคำปรึกษา
·
เดินทางกลับไปพักผ่อน
2.4รูปแบบพฤติกรรมของกลุ่มบริการ
·เข้าถึงโรงเรียนด้วยระบบขนส่งมวลชน รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ส่วนตัว
·ลงบันทึกเวลาเข้ามาปฏิบัติหน้าที่
·เข้าสู่โถงส่วนบริการ
·เก็บของเปลี่ยนเสื้อผ้าสำหรับปฎิบัติหน้าที่
·เข้าปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตามแต่หน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้ง
·บางกรณีอาจจะมีการพักผ่อนและรับประทานอาหารกลางวันต่างเวลากันขึ้นอยู่กับแต่ละส่วนรับผิดชอบ
·หลังจากพักกลางวันก็เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายต่อ
·หลังจากการปฏิบัติหน้าที่เรียบร้อย ลงบันทึกเวลาออกก่อนที่จะออกจากโรงเรียน
·เดินทางออกจากโรงเรียน
2.5รูปแบบพฤติกรรมกลุ่มผู้ปกครอง
จะเป็นไปในรูปแบบของการเข้ามาชมการจัดแสดงของนักเรียน
การชมงานนิทรรศการที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น การเข้ามาขอรับคำปรึกษา สอบถามข้อมูล เยี่ยมชมโรงเรียน
รับส่งบุตรหลานและการเข้ามาติดต่อธุระโดยมีรายละเอียดดังนี้
·เข้าถึงโรงเรียนด้วยรถยนต์ส่วนตัว
·เข้าสู่โถงส่วนสาธารณะ
·การพักคอย
·รับส่งบุตรหลาน ติดต่อธุระ เยี่ยมชมโรงเรียน หรือเข้าประชุมสมาคมผู้ปกครอง
-เมื่อเสร็จธุระแล้วก็จะกลับมาที่โถงพักคอยอีกครั้งหนึ่ง
·เดินทางออกจากโรงเรียน
3.พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของกิจกรรม(Behavior
and Environment)
การศึกษาและวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของพฤติกรรม
หรือสภาพแวดล้อมกับกิจกรรมนั้นๆ ว่าต้องการหรือไม่ต้องการพฤติกรรม หรือสภาพแวดล้อมแบบใด
เพื่อนำไปกำหนดแนวความคิดในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยให้ตอบสนองต่อความต้องการของกิจกรรม
2.1.3 ตารางเวลา (Time
Schudule)
ลักษณะของการวิเคราะห์ข้อมูลของโครงการโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เวลาในแต่ละส่วนต่างๆของภายในโครงการ
กับลักษณะของการดำเนินกิจกรรมภายในโครงการ โดยเปรียบเทียบกับเวลาการใช้งานของโครงการต่างๆในกรณีศึกษา
การแสดงตารางเวลาของแต่ละองค์ประกอบโครงการ(Functional Component) จะแสดงให้เห็นถึงทุกส่วน(Zone)
สัมพันธ์กับทุกกลุ่มผู้ใช้โครงการตารางเวลาจะมีผลต่อการกำหนดการปิด เปิดโครงการ
เป็นข้อกำหนดให้ผู้ออกแบบได้พิจารณาภึงการแยกองค์ประกอบดังกล่าว ให้มีการเข้าออกในช่วงที่ปิดทำการโครงการ
นอกจากนี้ยังมีผลต่อการกำหนดระบบเทคโนโลยีอาคาร
โดยลักษณะตารางเวลาที่ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีรายละเอียดดังนี้
·แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ
ภายในหนึ่งสัปดาห์
·
แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการภายในหนึ่งวัน
Day
|
อา.
|
จ.
|
อ.
|
พ.
|
พฤ.
|
ศ.
|
ส.
|
Func.
|
|||||||
ส่วนบริหาร
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
ส่วนการศึกษา
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
ส่วนสาธารณะ
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
หอพัก
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
ส่วนบริการ
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
ที่จอดรถ
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
แผนภูมิที่2.1 แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ
ภายในหนึ่งสัปดาห์
องค์ประกอบโครงการ
|
ฟังก์ชั่น
|
06.00-07.00
|
07.00-08.00
|
08.00-09.00
|
09.00-10.00
|
10.00-11.00
|
11.00-12.00
|
12.00-13.00
|
13.00-14.00
|
14.00-15.00
|
15.00-16.00
|
16.00-17.00
|
17.00-18.00
|
18.00-06.00
|
ส่วนการศึกษา
|
ห้องเรียนอนุบาล
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ห้องเรียนประถม
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ห้องเรียนคลาสต่างๆของมัธยม
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนสนับสนุนการศึกษา
|
ห้องพยาบาล
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Gallery
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Auditorium
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ห้องปฏิบัติการต่างๆ
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
ห้องสมุด
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนกีฬา
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ห้องชมรม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
หอพัก
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนบริหาร
|
ส่วนต้อนรับ
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนบริหาร
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
ส่วนสาธารณะ
|
ร้านเครื่องดื่ม
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนพักคอย
|
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ส่วนบริการ
|
พนักงานทั่วไป
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รปภ.
|
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แผนภูมิที่2.2 แสดงรายละเอียดเวลาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆภายในโครงการแยกตามแต่ละองค์ประกอบของโครงการ
ภายในหนึ่งวัน
2.2ข้อมูลพื้นฐานทางด้านรูปแบบ
(FORM FACT)
ศึกษาข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งของโครงการ รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโครงการ
ที่เป็นปัจจัยในการออกแบบผลทางสุนทรียภาพ และจิตวิทยาของผู้ใช้
2.2.1ที่ตั้ง(Site) และสภาพแวดล้อม(Environment)
2.2.2จินตภาพ(Image)
2.2.1ที่ตั้ง(Site) และสภาพแวดล้อม (Environment)
ที่ตั้งโครงการส่วนหนึ่งเป็นที่ดินของหมู่บ้าน Prime Villa และส่วนทางด้านหลังซื้อต่อขยายที่ตั้งไปให้ติดกับถนนทางด้านหลังโครงการ
เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงโครงการ สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการ
โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ มีต้นไม้ให้ความร่มรื่น มีทะเลสาบ
2.2.2จินตภาพ(Image)
การศึกษาข้อมูลของลักษณะภายนอกและภายในที่ปรากฏออกมาในงานสถาปัตยกรรม
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรูปทรง สี องค์วัสดุ หรือประกอบอื่นๆที่มองเห็นแล้วก็ให้เกิดจินตภาพที่สอดคล้องกับแนวความคิดของโครงการ
โดยโครงการได้ทำการศึกษาทางด้านจินตภาพของโครงการที่สอดคล้องกับลักษณะของโครงที่เป็นสถาบันทางการศึกษา
โดยอ้างอิงถึงโครงการประเทศต่างๆที่มีคุณภาพทางด้านจินตภาพโครงการ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการ
อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีหัวข้อรายละเอียดในการพิจารณา ดังนี้
1) จินตภาพภายนอก(External
Image)
2) จินตภาพภายใน(Internal
Image)
1) จินตภาพภายนอก(External Image)
ศึกษาภาพรวมที่ปรากฏอยู่ภายนอกของงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่เป็นกรณีศึกษา
เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ แนวความคิด วิธีการจัดการ และวิธีการออกแบบให้ได้ตามแนวความคิดที่วางไว้
โดยมีรายละเอียดย่อยในการพิจารณาดังนี้
1.1รูปร่างและรูปทรง(Configulation
and Image)

รูปภาพที่2.2 แสดงจินตภาพภายนอกด้านรูปร่างและรูปทรง
ที่มา
www.archdaily.com
(Adani Vidyamandir / Apurva Amin Architects)
1.2ลักษณะ(Characteristic)

รูปภาพที่2.3 แสดงจินตภาพภายนอกด้านลักษณะ
ที่มา www.archdaily.com (New
Cervelló School)
สถาปัตยกรรมที่ตอบรับกับฟังก์ชั่น
และสภาพแวดล้อมของที่ตั้ง โดยมีฟินเพื่อใช้ในการบังแดด ใช้สีสันสดใสเพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของเด็กเล็ก
และสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์นเพื่อตอบรับกับเด็กโต
1.3รูปแบบ(Style)

รูปภาพที่2.4 แสดงจินตภาพภายนอกด้านรูปแบบ
ที่มา
www.archdaily.com
(Duoc Maipu / Sabbagh Arquitectos)
เป็นสถาปัตยกรรมสไตล์โมเดิร์น ที่ใช้เหล็กมาใช้ในงานโครงสร้าง
แต่อาจจะเพิ่มสีสันเข้าไปในงานเพื่อให้งานดูน่าสนใจ
1.4สัดส่วน(Proportion)
จังหวะ(Rhythm) และลำดับ(Hierarchy)

รูปภาพที่2.5 แสดงจินตภาพภายนอกด้านสัดส่วน
ที่มา
http://ptis.threegeneration.org/
(PTIS -Chiang Mai)
โครงการที่มีสัดส่วนของอาคารเป็นอาคารขนาดเล็กกระจายตัวกันเป็นกลุ่มของอาคาร
ทำให้ไม่รู้สึกว่าเป็นอาคารขนาดใหญ่จนเกินไป
1.5มุมมองของการเข้าถึง(Approach)

รูปภาพที่2.6 แสดงจินตภาพภายนอกด้านมุมมองการเข้าถึง
ที่มา
www.archdaily.com
(Community-Oriented Architecture in Schools)
1.6สภาพแวดล้อมโครงการ(Landscape)

รูปที่2.7 แสดงจินตภาพภายนอกด้านสภาพแวดล้อมโครงการ
ที่มา Woodward Academy Middle
School
โครงการที่มีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น
โดยให้ธรรมชาติโอบล้อมอาคารเรียน
2) จินตภาพภายใน(Internal
Image)
2.1ลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่าง(Character
and Quality of Space)

รูปภาพที่2.8 แสดงจินตภาพภายในด้านลักษณะและคุณภาพของพื้นที่ว่าง
ที่มา
www.archdaily.com
(Volksschule Wallenmahd)
พื้นที่ว่างไม่ขนาดไม่ใหญ่เกินไปโดยปรับขนาดเสกลให้เข้ากับขนาดร่างกายของเด็กๆ
และมีสีสันสดใส
2.2จังหวะ(Rhythm) และลำดับของพื้นที่ว่าง(Order /Hierarchy of Space)
จังหวะค่อนข้างราบเรียบ สม่ำเสมอ ไม่มีการตัดกันอย่างรุนแรงของจังหวะ
พื้นที่ว่างให้ความรู้สึกโอบล้อมเป็นกันเอง และดูเข้าใจง่าย
2.3แสงในโครงการ(Lighting)

รูปภาพที่2.9 แสดงจินตภาพภายในด้านแสงภายในโครงการ
ที่มา
Volksschule
Wallenmahd
เน้นแสงธรรมชาติ
มีช่องเปิดที่มาก แต่ก็มีฟินมาบังแดด เพื่อกันความร้อนเข้ามาในอาคารมากเกินไป
2.3ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์(ECONOMIC
FACTS)
การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของโครงการ
และระดับคุณภาพของอาคาร เพื่อนำข้อเท็จจริงมาเพื่อกำหนดคุณภาพ และงบประมาณการลงทุน
เพื่อกำหนดงบประมาณเบื้องต้น โดยสามารถวิเคราะห์จากกรณีศึกษา เนื่องจากโครงการเป็นโครงการภาคเอกชนจึงต้องมีการพิจารณาเรื่องการลงทุนเป็นพิเศษ
แบ่งหลักเกณฑ์ออกเป็น 3หัวข้อ
2.3.1การลงทุนของโครงการ(Total Project Investment)
2.3.2การตลาด
2.3.3การคืนทุน
2.3.1การลงทุนของโครงการ(Total
Project Investment)
จากการศึกษาและการวิเคราะห์จะพบว่าโครงการเพื่อการศึกษาเป็นโครงการที่มีต้นทุนสูงในด้านอุปกรณ์การเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
ในหัวข้อนี้สามารถแบ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อความละเอียด และชัดเจนยิ่งขึ้นได้ดังนี้
1) ขอบเขตการลงทุน
2) แหล่งที่มาของเงินทุน
3) งบประมาณการลงทุน
4) ค่าก่อสร้าง
5) ค่าใช้จ่าย
1) ขอบเขตการลงทุน
เป็นโครงการของภาคเอกชน ซึ่งมีการลงทุนสูงเนื่องจากต้นทุนของบุคคล
2) แหล่งที่มาเงินทุน สามารถแบ่งที่มาได้ ดั้งนี้
·
ธนาคาร
·
เอกชน
โครงสร้างของทุนทรัพย์อาศัยเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในการส่งเสริมธุรกิจการศึกษา
อัตราส่วนระหว่างเงินกู้ต่อเงินที่ชำระแล้ว ดังนี้
ตารางที่2.2 แสดงอัตราส่วนระหว่างเงินกู้ต่อเงินที่ชำระแล้ว
CAPITAL STRUCTURE
|
TOTAL (%)
|
เงินกู้ระยะยาว
|
60
|
เงินทุนจดทะเบียน
|
40
|
รวม
|
100
|
3) งบประมาณการลงทุน
ในส่วนของงบประมาณการาลงทุนมีการแบ่งเป็นหัวข้องบประมาณการก่อสร้างเป็นรายละเอียดดังนี้
งบประมาณทั้งหมด
ค่าที่ดินโครงการและพัฒนาที่ดิน คิดเป็น 5% ของราคาที่ดิน
ค่าก่อสร้าง
·
ค่าก่อสร้างภายนอกและงานภายนอก คิดเป็น 2% ของค่าก่อสร้าง
·
ค่าจัดสวนคิดเป็นตารางเมตรละประมาณ 10,000บาท ต่อตารางเมตร
·
ค่าตกแต่งภายใน คิดเป็น 30% ของค่าก่อสร้าง
·
ค่าระบบสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ คิดเป็น 7.5% ของค่าก่อสร้าง
·
ค่าธรรมเนียมการออกแบบ
และควบคุมงาน คิดเป็น
15% ของค่าก่อสร้าง
·
ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการเป็นเงินหมุนเวียน คิดเป็น 1% ของค่าก่อสร้าง
4) ค่าก่อสร้าง
·
ราคาค่าก่อสร้าง
( Building cost ) ตารางเมตรละ 20,000 บาท
พื้นที่ใช้สอยอาคารโดยประมาณ
29,600 ตารางเมตร
ราคาค่าก่อสร้าง 20,000
x 29,600 = 592,000,000 บาท
5) ค่าใช้จ่าย
จากการศึกษากรณีศึกษาจะพบว่าค่าใช้จ่ายของโครงการสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายได้เป็น
5.1ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้พบว่าสามารถเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องของการก่อสร้างโครงการทั้งหมด
ในช่วงเวลานี้ โครงการยังไม่มีรายรับเพราะโครงการประเภทนี้จะเริ่มมีรายรับหลังจากที่เปิดดำเนินการแล้ว
5.2ค่าใช้จ่ายหลังเปิดดำเนินการ
ค่าใช้จ่ายในส่วนของหลังการเปิดทำการโครงการ
สามารถแบ่งออกได้เป็น
1) รายรับ ประกอบด้วย
·
ค่าเทอมของการศึกษา
·
ร้านค้าอุปกรณ์และเครื่องแบบทางการศึกษา
2) รายจ่าย ประกอบด้วย
·ค่าใช้จ่ายในด้านบริหาร ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน
เงินเดือนครู เงินเดือนผู้บริหาร และค่าใช้จ่ายรายเดือนด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
·
ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ
อุปกรณ์ บำรุงรักษาสถานที่และค่าประกันต่างๆ
2.3.2 การตลาด
ปัจจุบันมีโรงเรียนนานาชาติหลายแห่ง
และมีแนวโน้มที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นโครงการจึงมีจุดเด่นที่เป็นตัวสถาปัตยกรรมที่ดูโดดเด่นและน่าสนใจ
2.3.3การคืนทุน (Return on
Investment)
งบประมาณการลงทุนเบื้องต้น ประมาณ 718,725,000 บาท
ค่าเทอมนักเรียนอนุบาล เทอมละ 200,000 บาท
ค่าเทอมนักเรียนไฮสคูล เทอมละ 400,000 บาท
รายได้จากค่าเทอมแต่ละปี ปีละ 408,000,000 บาท
ดังนั้นระยะเวลาที่โครงการนี้สามารถคืนทุนได้
ประมาณ 2 ปี
2.4 ข้อมูลพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
(TECHNOLOGY FACTS)
ศึกษาข้อมูลต่าง ๆที่เป็นพื้นฐานระบบเทคโนโลยีต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร เพื่อทราบถึงงานระบบของโครงการและสามานำมาเลือกใช้วิเคราะห์และกำหนดแนวความคิดได้อย่างถูกต้อง
โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่
ๆ คือ
2.4.1ระบบประกอบอาคาร (Building System)
2.4.2เทคโนโลยีพิเศษ(Specific
Technology)
2.4.3เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการศึกษา (Education Technology)
2.4.1 ระบบประกอบอาคาร(Building
System)
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับงานระบบอาคารงานระบบภายในอาคาร
การกำหนดชนิดประเภท ความสามารถในการทำงาน ตลอดจนประสิทธิภาพต่างๆ และระบบอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อโครงการ
โดยระบบภายในอาคารทั่วไปของโครงการ มีดังนี้
1)
ระบบโครงสร้าง(Structure)
2)
ระบบปรับอากาศ(Air-Conditioning)
3)
ระบบสุขาภิบาล(Sanitary)
·
ระบบประปา
·
ระบบน้ำเสีย
·
ระบบโสโครก
·
ระบบบำบัดน้ำเสีย
4)
ระบบไฟฟ้ากำลัง(Electricity)
5)
ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน(Emergency System)
6)
ระบบป้องกันฟ้าผ่า(Lighting Protection System)
7)
ระบบสื่อสารโทรคมนาคม(communication)
·
ระบบโทรศัพท์(Telephone System)
·
ระบบโทรทัศน์วงจรปิด(CCTV System)
8)
ระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบดับเพลิง(Fire Protection Extinguishers)
9)
ระบบแสงสว่าง(Lighting)
10) ระบบกำจัดขยะ
2.4.2เทคโนโลยีพิเศษ(Specific
Technology)
ระบบเทคโนโลยีพิเศษเฉพาะ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยดังนี้
1) ระบบรักษาความปลอดภัย
ระบบรักษาความปลอดภัย (Security Management)ทำหน้าที่ตรวจตรา
และตรวจสอบ การเข้า-ออกอาคารของบุคคลประเภทต่างๆ โดยใช้อุปกรณ์
ตั้งแต่ ระบบควบคุมทางเข้า-ออก (Access Control),อุปกรณ์ตรวจสอบความร้อน ,กล้องวงจรปิด ,ระบบตรวจสอบการเคลื่อนไหว ฯลฯ โดยจะต่อสัญญาณเข้ากับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนกลาง
ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
2) ระบบป้องกันเพลิงไหม้
จัดอุปกรณ์
ตรวจจับควันไฟ สัญญาณเตือนภัย และอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ตามจุดต่างๆของอาคารเรียน
ตามกฏหมายอาคาร และจัดให้มีจุดรวมพลไว้เผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน
2.4.3-เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการศึกษา (Education Technology)
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไร้สาย
ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ ในเรื่องของการศึกษาค้นคว้าของเด็กนักเรียว
อีกทั้งยังสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยรูปแบบของการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ต
จะเป็นแบบ Client/server
(Infrastructure mode)
ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure
mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัยAccess Point
(AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น
เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน
หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้
โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP
1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย
เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต,ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น

รูปภาพที่2.10 แสดงการทำงานอินเตอร์เน็ตไร้สายแบบ Client / server
ที่มา
สำนักเทคโนโลนีสารสนเทศ กรมที่ดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น