บทที่5


บทที่5
สรุปโครงการ

ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง การจัดทำโครงการ(Programing Stage) กับขั้นตอนการออกแบบ(Design Stage) ซึ่งเป็นการสรุปเนื้อหา และวิเคราะห์เพื่อเริ่มต้นการออกแบบ
สิ่งที่นำเสนอเป็นการสรุปข้อมูลเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของโครงการทั้งหมด ทั้งพื้นที่ใช้สอย
โครงการ และที่ตั้งโครงการ และการนำข้อมูลทุกด้านมาวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการออกแบบ และนำไปออกแบบขั้นต้น

5.1 สรุปภาพรวมโครงการ (Project Summary)
เป็นการนาเสนอรายละเอียดโครงการโดยสรุป เพื่อที่ให้ผู้ออกแบบสามารถนาไปใช้ในการออกแบบเบื้องต้นได้ และเพื่อให้ผู้ที่สนใจเฉพาะส่วนการออกแบบได้รับข้อมูลโดยสั้น ในส่วนนี้โดยมีการสรุปเป็น 3 ส่วนคือ พื้นที่ใช้สอยโครงการ ความสัมพันธ์ของหน้าที่ใช้สอยในโครงการ และรายละเอียดที่ตั้งโครงการ
5.1.1พื้นที่ใช้สอยโครงการ(Area Requirement)
5.1.2สรุปความสัมพันธ์ของพื้นที่ใช้สอย
5.1.3ที่ตั้งโครงการ(Site)
5.1.4การวางผังโครงการ(Zoning Lay-out)
5.1.5การออกแบบทางเลือก

5.1.1พื้นที่โครงการ(Area Requirement)
การสรุปพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่สนับสนุนต่างๆ ของโครงการ แยกตามองค์ประกอบหลัก
 


รูปภาพที่5.1แสดงสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยในโครงการโรงเรียนนานาชาติเปรม ติณสูลานนท์
5.1.2ความสัมพันธ์ของหน้าที่ใช้สอย(Functional Relationship)
รูปภาพที่5.2 แสดงความสัมพันธ์ของภาพรวมโครงการโรงเรียนนานาชาติเปรมติณสูลานนท์

5.1.3ที่ตั้งโครงการ(Site)
1.แผนที่ตั้งโครงการ(Location Map)
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhkmRhB6rmv8mRhU0-uMT6gkY1sJHuM3bQ9XbAei8B3JuUZ5Wv5ii_syyAE5qrs6jpkkkwNnhkhFKFdsarQp_hI3qMywVVPp_dP_9qZEx58KckQFyYeZJXmWzeaejenVIxGsiqFT2TyRpQR/s640/Picture4.jpg
รูปภาพที่5.3 แสดงแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทไว้ท้ายกฏกระทรวง ปีพ..2543
ที่มา : สำนักผังเมืองสมุทรปราการ
โรงเรียนนานาชาติเปรม ติณสูลานนท์ แห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้าน Prime villa เหมาะที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา เพื่อรองรับบุตรหลานของคนในหมู่บ้านแห่งนี้ และหมู่บ้านข้างเคียง และที่ตั้งโครงการยังอยู่ใกล้กับสนามบินสุวรรณภูมิด้วย เพื่อเสริมในเรื่องของการเดินทางของเด็กนักเรียนที่มาจากต่างประเทศ การเข้าถึงโครงการนี้จะเข้าได้ 2 ทาง คือทาง ถนนสุขาภิบาล2 และถนนลาดกระบัง
รูปภาพที่5.4 แสดงสถานที่สำคัญในบริเวณนั้น

รูปภาพที่5.5 แสดงการเข้าถึงโครงการ
5.1.4การวางผังโครงการ(Zoning Lay-out)
รูปภาพที่5.6 แสดงการแบ่งโซนตามการเข้าถึงของผู้ใช้งาน
รูปภาพที่5.7 แสดงการวางผังอาคาร

5.1.5การออกแบบทางเลือก(Schematic Design)
การออกแบบร่างทางเลือกเป็นการออกแบบโดยการนำผังบริเวณอันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดมาใช้ในการออกแบบร่างทางเลือก โดยมีพื้นที่ใกล้เคียงตามมาตราส่วน และแก้ไขปัญหาในการออกแบบ โดยพิจารณาทั้งในส่วนของระนาบ(Plan) รูปร่าง(Shape) รูปทรง(Form) ที่ว่าง(Space)และแนวคิดในการออกแบบ(Design Concept) หลังจากพิจารณาข้อดีข้อเสียของทั้ง3 แบบร่าง จึงนำแบบร่างที่เหมาะสมที่สุดที่ได้จากการออกแบบทางเลือก(Schematic Design) จะนำไปพัฒนาแบบร่าง(Design Development) ในรายละเอียดทางด้านหน้าที่ใช้สอย ด้านขนาดพื้นที่ ด้านรูปแบบอาคาร งานระบบ และด้านอื่นๆอีกต่อไป โดยหลักเกณฑ์ในการร่วมพิจารณามีดังนี้
·    ความเหมาะสมของกลุ่มผู้ใช้โครงการ(User)
·    ความเหมาะสมในการจัดกิจกรรมต่างๆ(Activity)
·    ความเหมาะสมในการให้บริการ(Service)
·    ความเหมาะสมในการจัดระบบรักษาความปลอดภัย(Security)
·    ความเหมาะสมในการจัดเส้นทางสัญจร(Circulation)
·    ความเหมาะสมกับจินตภาพตามแนวความคิด(Image)
·    ความเหมาะสมในการแบ่งระยะโครงการ(Phasing)
·    ความเหมาะสมในการใช้ระบบอาคารที่เลือก(Building System)
·    ความเหมาะสมในการเลือกเทคโนโลยีพิเศษ(Specific Technology)
·    ความเหมาะสมในการควบคุมคุณภาพและค่าก่อสร้างอาคาร(Quality Control)
·    ความเหมาะสมในการควบคุมอนุรักษ์พลังงานในอาคาร(Energy Conservation)
·    ความเหมาะสมในกรกลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อม(Environment)
·    ความเหมาะสมในการรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์(Historic Preservation)
·    ความเหมาะสมในการเชื่อมต่อและเอื้อประโยชน์ให้ชุมชนใกล้เคียง(Community Linkage)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น